ร้านหนังสือมิตรสาส์น - จำหน่ายและรับซื้อหนังสือเก่า หนังสือสะสม หนังสือหายาก ติดต่อเรา 081-8743484 Line ID otoroman

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงขจรภะรตราชา

฿1500.00
ปกอ่อน สภาพดี
ซื้อเลย
หยิบลงตะกร้า
  • หมวดหมู่ : หนังสือเก่า อนุสรณ์งานศพ
  • รหัสสินค้า : 000557

รายละเอียดสินค้า อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงขจรภะรตราชา

ปกอ่อน จำนวน 365 หน้า ปีที่พิมพ์ 2529

รายละเอียด   

ท่านผู้หญิงขจร ภะรตราชา เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ ตรงกับปีขาล บิดาชื่อร้อยโทจร ทับเป็นไท มารดาชื่อนางหวาน ผู้บิดานั้นรับราชการในกองมหาดเล็ก รับใช้เบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ อย่างใกล้ชิดอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ด้วยเหตุนี้เมื่อท่านผู้หญิงขจรฯ กำพร้าบิดาลงในเมื่อมีอายุเพียงสิบเดือน สมเด็จพระพันปีหลวงก็ได้ทรงขอต่อมารดาให้ท่านผู้หญิงขจรฯ เข้ามาอยู่ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และได้เข้าไปเป็นข้าหลวงและพระสหายของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่อายุได้ ๗ ขวบ ทั้งยังทรงมีพระเมตตาให้เรียนหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ครั้นเมื่ออายุได้ ๑๓ ปี ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าพิธีโกนจุกกับเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า ตามขนบประเพณีไทยสมัยนั้น ต่อมาเมื่อพระพันปีหลวงมีพระราชประสงค์จะส่งกุลสตรีไปศึกษาวิชาการช่าง ณ ประเทศญี่ปุ่น ก็ได้ทรงเลือกท่านผู้หญิงขจรฯ ซึ่งขณะนั้นอายุได้ ๑๔ ปี พระราชทานทุนให้ไปเรียนวิชาเขียนภาพ ปักสะดึง และการฝีมือ นับเป็นหญิงไทยรุ่นแรกรวม ๔ คนที่ได้ออกไปศึกษา ณ ประเทศญี่ปุ่น จนอายุได้ ๑๘ ปี ท่านผู้หญิงขจรฯ จึงกลับมารับราชการฉลองพระเดชพระคุณโดยเป็นครูสอนวิชาการฝีมือ ณ โรงเรียนราชินี

เมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ท่านผู้หญิงขจรฯ ได้เข้าพิธีสมรสกับหลวงอภิบาลบุริมศักดิ์ (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา ต่อมาเป็นพระยาภะรตราชา) โดยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงสรวมมงคลและประทานน้ำสังข์ ท่านผู้หญิงขจรฯ ได้ปฏิบัติหน้าที่ของภริยาที่ดีโดยครบถ้วนตลอดมา บำเพ็ญตนในทางที่ดีงาม สนับสนุนส่งเสริมและเป็นกำลังของสามีในทุกหน้าที่ของท่าน เมื่อพระยาภะรตราชาไปรับราชการเป็นผู้ดูแลนักเรียนในประเทศอังกฤษ ท่านผู้หญิงขจรฯ ก็ได้ให้ความอบอุ่นเป็นกันเองแก่บรรดาคนไทยที่ไกลบ้าน จนเป็นที่รักใครนับถือโดยทั่วไป เมื่อสามีกลับมาเป็นผู้บังคับการโรงเรียนวชิราวุธ ท่านผู้หญิงขจร ก็รับดูแลสวัสดิการของนักเรียน ดูแลตกแต่งสถานที่ด้วยพื้นฐานวิชาศิลปะที่ท่านได้เล่าเรียนมา ทำให้โรงเรียนวชิราวุธซึ่งทรุดโทรมลงเต็มทีในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กลับมีชีวิตแจ่มใสงดงามเป็นสง่าแก่ผู้พบเห็นขึ้นอีกวาระหนึ่ง ในด้านสังคมสงเคราะห์ท่านผู้หญิงขจรฯ ก็ได้เข้าร่วมกิจกรรมอยู่ด้วยตามความเหมาะสมเสมอมา เช่น เป็นอาสากาชาด เป็นกรรมการสมาคมไทย-ญี่ปุ่น อยู่หลายสมัย ร่วมในคณะบำเพ็ญประโยชน์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ร่วมในการบำเพ็ญกุศลประโยชน์ในกิจการแห่งพระพุทธศาสนา ทำนุบำรุงสถาบันต่างๆ เพื่อความยั่งยืนถาวรแห่งศาสนาและสังคมไทยที่ดีงาม ในด้านความจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์นั้น ท่านผู้หญิงขจรฯ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ใกล้จิตใจของท่านเป็นที่สุดตลอดชีวิตของท่าน เมื่อท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าชั้นสายสะพายนั้นครั้งหนึ่ง เมื่อท่านได้เข้ารับพระราชทานน้ำสังข์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสอายุครบ ๙๖ ปี อีกครั้งหนึ่ง เมื่อประมาณ ๒ เดือนก่อนที่ท่านจะถึงแก่อนิจกรรมนั้น เป็นวาระสุดท้ายที่ยังความปลาบปลื้มอบอุ่นใจให้แก่ท่านในพระมหากรุณาธิคุณ เป็นที่สดุ ท่านผู้หญิงขจรภะรตราชาถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหัวใจล้มเหลวเมื่อวันอังคารที่ ๒๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๒๙ สิริอายุ 96 ปี

ชีวิตครอบครัว

ในด้านครอบครัว นอกจากหน้าที่ของศรีภริยาที่ดีงามแล้ว ท่านเป็นมารดาที่ประเสริฐ ท่านให้ความรัก ความห่วงใย การอบรมดูแลอย่างใกล้ชิดสนิทสนม ให้การศึกษาอย่างดีที่สุด ให้การสั่งสอนให้ลูกอยู่ในคุณงามความดีในทุกวิถีทาง ทำให้ชีวิตของลูกทุกคนประสบความสำเร็จภายใต้คุณธรรมด้วยดีทุกคน ลูกที่ยังมีชีวิตให้ท่านชื่นชมมาจวบจนวาระสุดท้ายของท่านผู้หญิงขจรฯ คือ

  1. ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา
  2. นายอายุส อิศรเสนา ณ อยุธยา
  3. นางสุคนธา โบเยอร์
  4. ท่านผู้หญิง ดร. ทัศนีย์ บุณยคุปต์ - อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนจิตรลดา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

/* Products stats */